วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ประเภทของเครื่องถ่ายเอกสาร ประโยชน์ของเครื่องถ่ายเอกสาร หลักเกณฑ์และข้อควรปฏิบัติในการใช้เครื่องถ่ายเอกสาร ส่วนประกอบของเครื่องถ่ายเอกสาร


ประเภทของเครื่องถ่ายเอกสาร 
เครื่องถ่ายเอกสารระบบอัตโนมัติ (Electrostatic copying Machine) มีคุณภาพและขีดความสามารถในการใช้งานตากต่างกันไป อย่างไรก็ตามถ้าหากแบ่งประเภทของเครื่องถ่ายเอกสารตามลักษณะของงานที่ผลิตได้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 
1.เครื่องถ่ายเอกสารชนิดขาว-ดำ เป็นเครื่องถ่ายเอกสารที่สำเนาภาพทุกชนิด จะปรากฏเป็นภาพขาว-ดำ ได้อย่างเดียวเท่านั้น 
2. เครื่องถ่ายเอกสารชนิดสี เป็นเครื่องถ่ายเอกสารที่สามารถถ่ายต้นฉบับที่เป็นภาพสีได้โดยสำเนาภาพที่ด้ออกมา จะปรากฏเป็นภาพสีเหมือนต้นฉบับทุกประการ (ด้วยอุปกรณ์เพิ่ม Paragraph) 
นอกจากแบ่งประเภทของเครื่องถ่ายเอกสารตามลักษณะของงานที่ผลิตได้แล้ว ยังแบ่งประเภทเครื่องถ่ายเอกสารตามขนาดของเครื่องได้ 3 ประเภท คือ 
• เครื่องถ่ายเอกสารขนาดเล็ก 
• เครื่องถ่ายเอกสารขนาดกลาง 
• เครื่องถ่ายเอกสารขนาดใหญ่ 

ประโยชน์ของเครื่องถ่ายเอกสาร 
การใช้เครื่องถ่ายเอกสาร มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในสำนักงาน ดังนี้ 
1. ประหยัดเวลา แรงงาน เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องพิมพ์งานทีเหมือนกันหลาย ๆ ครั้ง โดยเฉพาะเอกสารที่เป็นลายเส้น รูปภาพ แผนผัง ไม่ต้องมาเขียนหรือวาดใหม่ซึ่งต้องใช้เวลามาก 
2. ทำสำเนาได้สะดวกรวดเร็วและไม่จำกัดจำนวน นอกจากนี้ถ้ามีที่พิมพ์ผิดที่ต้นฉบับและได้แก้ไขเรียบร้อยแล้วเมื่อถ่ายเอกสารจะไม่ปรากฏรอยให้เห็นในเอกสารฉบับสำเนา 
3. ขั้นตอนและวิธีการใช้งานง่าย ไม่ต้องใช้เวลาในการเรียนหรือฝึกฝนมากนัก เพียงแต่แนะนำวิธีการใช้งานของเครื่องให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจในครั้งแรกเท่านั้นก็สามารถใช้งานได้ทันที 
4. ถ่ายเอกสารที่เป็นรูปภาพ แผนที่ กราฟ ภายลายเส้น หรือแผนผังที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ เหมือนกับต้นฉบับจริงทุกประการ 
5. สามารถสำเนาเอกสารโดยการย่อ ขยาย และซูมภาพได้ตามความต้องการ 

หลักเกณฑ์และข้อควรปฏิบัติในการใช้เครื่องถ่ายเอกสาร 
การติดตั้งเครื่องถ่ายเอกสาร 
เพื่อให้เครื่องถ่ายเอกสารทำงานได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสม ก่อนการติดตั้งเครื่องหรือเคลื่อนย้ายเครื่องควรปฏิบัติ ดังนี้ 
1. ควรติดตั้งเครื่องใกล้กับที่เสียบปลั๊กไฟ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน 
2. ใช้สายไฟที่ต่อเข้ากับที่เสียบปลั๊กตามขนาดที่กำหนด และควรต่อสายดินไว้เสมอ ไม่ควรต่อไฟฟ้าพ่วงกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ 
3. ติดตั้งเครื่องไว้บนพื้นที่เรียบและแข็งแรง 
4. ควรเลือกเนื้อที่ว่างรอบตัวเครื่อง หรือวางเครื่องให้ห่างจากฝาผนังอย่างน้อย 10 เซนติเมตร เพื่อให้มีอากาสระบายอย่างเหมาะสม และสะดวกในการดูแลและบำรุงรักษา 
5. อย่าติดตั้งเครื่องในสถานที่อับหรือเปียกชื้น มีแสงแดดส่องถึงโดยตรง มีฝุ่นละออกมาก มีหารระบายของอากาศได้น้อย หรือใกล้กลับบริเวณที่มีอุณหภูมิแปรปรวน มีความชื้นสูง เช่น ใกล้กับเครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องทำความร้อน 
ข้อควรระวังในการใช้เครื่องถ่ายเอกสาร 
1. อย่าแตะต้องหรือสัมผัสแม่พิมพ์ภาพ (Photoconduction Drum) โดยตรง เนื่องจากริ้วรอยขูดขีดต่าง ๆที่ปรากฏบนแม่พิมพ์ภาพจะทำให้สำเนาเอกสารเกิดรอยสกปรก เปรอะเปื้อนได้ 
2. ในพื้นที่หลอมละลายผงหมึกให้ติดแน่นบนเอกสาร (Fusing Area) จะมีความร้อนสูง ให้ระมัดระวังเมื่อต้องเปิดเครื่องและตรวจบริเวณดังกล่าว 
3. ปุ่มยึดเครื่องสำหรับถาดบรรจุกระดาษสำเนา 500 แผ่น หรือ 1,000 แผ่น เมื่อมีการเคลื่อนย้ายเครื่อง ให้หมุนเกลียวปุ่มยึดเครื่องลง จนกระทั่งปุ่มดังกล่าวสัมผัสพื้น เพื่อยึดเครื่องให้ติดแน่นกับพื้น 
4. เมื่อเปิดสวิตช์เครื่องทิ้งไว้ ฮีตเตอร์ของดรัมและตัวป้องกันความชื้นในเครื่องยังคงทำงานหากเกิดกรณีฉุกเฉินควรถอดปลั๊กเครื่องออก 
5. ในขณะถ่ายเอกสารไม่ควรปิดสวิตช์ไฟ หรือดึงปลั๊กไฟออกจากเต้าเสียบหรือยกฝาปิดต้นฉบับขึ้น หรือเปิดฝาเครื่องด้านหน้า 
6. ห้ามวางสิ่งของหรือเครื่องมือที่มีน้ำหนักบนกระจกวางต้นฉบับ 
7. อย่าให้ลวดเสียบกระดาษหรือเศษโลหะอันเล็ก ๆ ตกลงในตัวเครื่อง 
8. ตรวจดูคุณสมบัติของเครื่องกับกระดาษหรือวัสดุอื่นใดที่ใช้ทำสำเนาให้ถูกต้องตรงกัน เนื่องจากเครื่องบางรุ่นสามารถใช้กับกระดาษธรรมดา กระดาษถ่ายเอกสาร หรือแผ่นโปร่งใสก็ได้ แต่บางรุ่นต้องใช้กระดาษถ่ายเอกสารชนิดเดียวเท่านั้น 
9. เพื่อป้องกันปัญหากระดาษซ้อนหรือกรดาษติด ควรคลี่กระดาษก่อนที่จะนำไปถ่ายเอกสารทุกครั้ง 
10. ไม่ควรหยิบสำเนาเอกสารที่ถ่าย ในขณะที่นิ้วมือสกปรก เปียกชื้น หรือเปื้อนน้ำมัน เพราะจะทำให้สำเนาเอกสารเปื้อนเป็นรอย 
11. หากมีควันจากเครื่อง หรือมีเสียงผิดปกติ หรือนอกตัวเครื่องร้อนเกินไปให้หยุดเครื่องทันที 
12. เมื่อมีข้อความ “READY TO COPY MAINTENACE REQUIRED” ปรากฏหน้าจอแสดงว่าถึงเวลาที่จะต้องทำความสะอาดและตรวจเช็คเครื่องโดยช่างผู้ชำนาญแล้ว 

การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสาร 
การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสารอย่างถูกวิธี จะช่วยถนอมเครื่องให้มีอายุการใช้งานยาวนาน ป้องกันการชำรุดเสียหายก่อนถึงเวลาอันสมควร ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลาในการปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแนวทางการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสารโดยทั่วไป มีดังนี้ 
1. ศึกษาขั้นตอนและวิธีการใช้เครื่องแต่ละชนิดจากคู่มือประจำเครื่อง 
2. ตั้งเครื่องให้อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ห่างไกลจากความชื้นและแสงแดด 
3. หมั่นเช็ดและทำความสะอาดตัวเครื่องด้านนอกทุกวัน 
4. ทำความสะอาดกระจกวางต้นฉบับและฝาปิดต้นฉบับด้านในเป็นประจำสม่ำเสมอทุกวันโดยผ้านุ่มและสะอาดเท่านั้น ถ้าสกปรกมากให้ใช้ผ้านุ่มชุบน้ำพอเปียกชื้นทำความสะอาดเพียงอย่างเดียว ห้ามใช้ทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน หรือสาละลายอื่น ๆ อย่างเด็ดขาด 
5. หากมีการติดตั้งถาดป้อนต้นฉบับอัตโนมัติ ให้ทำความสะอาดบริเวณถาดป้อนต้นฉบับอัตโนมัติด้วยผ้านุ่มสะอาด 
6. หมั่นตรวจดูผงหมึกให้อยู่ในปริมาณเพียงพอที่จะถ่ายเอกสารได้ชัดเจนอยู่เสมอ เวลาเทหมึกต้องระมัดระวังอย่าให้ผงหมึกฟุ้งกระจายเข้าตัวเครื่อง 
7. ใช้ผ้าคลุมเครื่องทุกครั้งหลักจากเลิกการใช้งาน และก่อนคลุมเครื่องควรรอให้เครื่องเย็นเสียก่อนจึงทำการคลุมเครื่อง ทั้งนี้เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและความชื้น 
8. ขณะเครื่องกำลังทำงาน ห้ามหมุนหน้าปัดเลือกอัตราส่วนการถ่ายเอกสารโดยเด็ดขาด และควรเลือกอัตราส่วนการถ่ายเอกสารอย่างช้า ๆ ก่อนกดปุ่ม Start 
9. ระมัดระวังเกี่ยวกับสายไฟ ปลั๊กไฟที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร เมือเลิกใช้เครื่องให้ปิดสวิตซ์และถอดปลั๊กไฟให้เรียบร้อย 
10. ไม่ควรเปิด-ปิดเครื่องถ่ายเอกสารบ่อย ๆ 
11. ควรจัดทำประวัติการใช้งานการซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องถ่ายเอกสารให้ละเอียด 
12. ถ้าเครื่องมีปัญหาติดขัดไม่สามารถใช้งานได้ ควรเรียกช่างผู้ชำนาญมาทำการตรวจซ่อม ห้ามทำการซ่อมเองโดยเด็ดขาด 
13. เมื่อมีข้อความ “READY TO COPY. MAINTENCE REQUISED” ปรากฏแสดงว่า ถึงเวลาต้องทำความสะอาดและตรวจเช็ค หรือให้ติดต่อช่างผู้ชำนาญ 

ส่วนประกอบของเครื่องถ่ายเอกสาร 
1. แผงควบคุมการทำงาน คำสั่งและไฟสัญลักษณ์การำงานจะปรากฏที่บริเวณนี้ 
2. สเกลบอกขนาดกระดาษด้านซ้ายมือ ใช้เพื่อกำหนดขนาดของต้นฉบับที่วางบนระจกรองรับ 
3. ฝาครอบกระจกรองรับต้นฉบับ ปิดฝาครอบต้นฉบับทุกครั้งที่ถ่ายเอกสาร 
4. กระจกรองรับต้นฉบับ วางต้นฉับคว่ำหน้าลงที่กระจกรองรับเมื่อต้องการถ่าย 
5. ถาด Bypass ใช้ในการถ่ายเอกสารลงบนแผ่น OHP, สติกเกอร์, แผ่นใส, กระดาษโปสการ์ดหรือกระดาษที่มีขนาดพิเศษ 
6. ถาดกระดาษพิเศษชนิดบรรจุ 1000 แผ่น แผ่น สามารถบรรจุกระดาษได้ 1,000 แผ่น สามารถติดตั้งถาดกระดาษพิเศษนี้ได้ 
7. ช่องเสียบอุปกรณ์นับจำนวน ใส่อุปกรณ์นักจำนวนที่นี่ 
8. ฝาครอบเครื่องด้านหน้า เปิดฝาเครื่องนี้เมื่อต้องการเปิดชิ้นส่วนภายในเครื่อง 
9. ถาดกระดาษขนาดบรรจุ 500 แผ่น สามารถบรรจุกระดาษได้ 500 แผ่น 
10. ถาดกระดาษขนาดบรรจุ 500 แผ่น สามารถบรรจุกระดาษได้ 500 แผ่น รูปแบบเครื่องที่มีการติดตั้งชุดถ่ายเอกสาร 2 หน้าจะไม่มีถาดกระดาษนี้เพราะเนื่องจากมีชุดถาดสำหรับถ่ายเอกสาร 2 หน้าแทน 
11. ชุดถ่ายเอกสาร 2 หน้า ใช้ชุดถาดกระดาษนี้การถ่ายเอกสาร 2 หน้า 
12. สวิทช์เปิด/ปิดเครื่อง ใช้ในการเปิด/ปิดเครื่องและให้เครื่องอยู่ในระบบ Stand-by 
13. ถาดรับสำเนา สำเนาที่ถ่ายเอกสารเสร็จแล้วจะถูกป้อนออกมาที่ถาดนี้ 
14.กล่องผงหมึก เปลี่ยนกล่องผงหมึกใหม่เมื่อไฟสัญลักษณ์เติมผงหมึกปรากฏหรือกระพริบ 
15.ชุดความร้อน จะอบผงหมึกที่พิมพ์บนสำเนาให้แห้ง และให้ระมัดระวังอย่าสำผัสชุดความร้อนนี้เพราะเนื่องจากอาจจะร้อนมาก

ความสำคัญของเครื่องถ่ายเอกสาร

เครื่องถ่ายเอกสารเป็นเครื่องใช้สำนักงานที่ได้สำหรับทำสำเนาเอกสารที่มีคามสำคัญและจำเป็นในการปฏิบัติงานในสำนักงานทุก ๆ ประเภท เนื่องจากสามารถทำสำเนาเอกสารได้เหมือนต้นฉบับทุกประการ ช่วยประหยัดเวลาในการพิมพ์เอกสารที่เหมือนและซ้ำ ๆ กันเป็นจำนวนมากได้อย่างสะดวกรวดเร็วนกอกจากนี้ ยังใช้ถ่ายเอกาสารที่เป็นรูปภาพ แผนที่ กราฟ ภาพลายเส้นได้เหมือนกับต้นฉบับจริงทุกประการ อีกทั้งขั้นตอนและวิธีการใช้งานง่ายมาก ไม่ต้องใช้เวลาในการเรียนหรือฝึกฝนมากนัก เพียงแต่แนะนำวิธีการใช้งานสำหรับรุ่นใดรุ่นหนึ่งในครั้งแรกเท่านั้น ผู้ปฏิบัติก็สามารถใช้งานได้ทันที ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในสำนักงานทุก ๆ แห่งจะต้องมีเครื่องถ่ายเอกสารอย่างน้อยหนึ่งเครื่องไว้ใช้งานในสำนักงาน 
โดยทั่วไปการพิจารณาคุณสมบัติด้านการใช้งานของเครื่องถ่ายเอกสาร มักพิจารณาในเรื่องของความเร็วในการทำงาน โดยกำหนดมาตรฐานการใช้งานเป็นอัตราความเร็วในการถ่ายสำเนาเอกสาร เช่น อัตราความเร็ว 30 แผ่น/นาที 45 แผ่น/นาที หรือ 100 แผ่น/นาที เป็นต้น นอกจากนี้ยังพิจารณาคุณสมบัติและขีดความสามารถในด้ายอื่น ๆ ประกอบ เช่น การใช้ระบบผงหมึกแห้งบรรจุในหลอดสำเร็จรูปใส่เขจ้าไปในเครื่องได้ทั้งหลอด มีระบบควบคุมความเข้มจางของเครื่องโดยอัตโนมัติ ความสามารถถ่ายเอกสารได้คมชัดเหมือนต้นฉบับทั้งภาพขาว-ดำ ภาพสี ลายเส้น รอยประทับตรายาง เลยเซ็น หนังสือเป็นเล่ม วัตถุสามริติต่างๆ สามารถขจัดเงาดำที่อขบของสำเนาอันเกิดจากการถ่ายต้นฉบับที่เป็นสีได้หลายสี หรือมีระบบเสียงเพลงเตือนเมื่อเครื่องจะทำงาน หรือถ้าลืมต้นฉบับ หรือผงหมึกหมด จะมีระบบสัญญาณไฟแจ้ให้ทราบหรือสั่งการทำงานต่าง ๆ 
ด้วยหน่วยความจำในโปรแกรมการทำงานของเครื่อง เช่น การลบข้อความที่ไม่ต้องการออกโดยตั้งโปรแกรมให้เครื่องถ่ายเอกสารเฉพาะส่วนที่ต้องการ ตลอดจนสามารถเลือกกระดาษได้อัตโนมัติตามลักษณะของต้นฉบับ นอกจากนี้ เครื่องถ่ายเอกสารบางรุ่น สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ได้ด้วย ซึ่งเรียกว่าเครื่องถ่ายเอกสารมัลติฟังก์ชันอัจฉริยะครอบคลุมการทำงานทั้งระบบการถ่ายเอกสาร เป็นทั้งเลเซอร์แฟกซ์ หรือเลเซอร์พรินเตอร์ หรือสแกนเนอร์ ทั้งนี้ หน่วยงานจะเลือกใช้เครื่องถ่ายเอกสารชนิดใด ยี่ห้ออะไรหรือรุ่นไหน ขีดความสามารถเท่าใด ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับลักษณะงาน และความจำเป็นในการปฏิบัติงานของหน่วยงานเป็นสำคัญ นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่จะมองข้ามมิได้โดยเด็ดขาดก็คือ การให้บริการหลักการขายของบริษัทผู้จำหน่าย 

ประวัติและวิวัฒนาการของเครื่องถ่ายเอกสาร (copying Machine)


เครื่องถ่ายเอกสาร (copying Machine) วิวัฒนาการมาจากกล้องถ่ายภาพ ซึ่งผู้คิดค้นได้พยายามรบรวมขั้นตอนวิธีการถ่ายภาพมาดัดแปลงให้มาอยู่ในเครื่องเดียวกัน ในระยะแรก ๆ เครื่องถ่ายเอกสารจะมีลักษณะเป็นเครื่องทำสำเนาเอกสารขนาดเล็ก เรียกว่า Photocopy หรือ Photostat ถ่ายสำเนาได้ครั้งล่ะ 1 แผ่น เป็นระบบ Dual Spectrum และเป็นชนิดเติมน้ำยา วิธีการใช้งานค่อนข้างยุ่งยาก และใช้ถ่ายรูปทุกประการ โดยต้อนฉบับแต่ละแผ่นจะถ่ายสำเนาได้ครั้งละ 1 แผ่นเท่านั้น นอกจากนี้ จะต้องใช้กระดาษเครื่องผ่านแสงไฟเพื่อให้ภาพ Negative นำเข้าเครื่องผ่านน้ำยาอีกครั้งหนึ่งจึงลอกแผ่น Negative ออก ก็จะได้เอกสารที่ถ่ายสำเนาออกมา อย่างไรก็ตาม เครื่องถ่ายเอกสารแบบ Dual Spectrum นี้ประสิทธิภาพในการถ่ายสำเนาเอกสารไม่คมชัดนัก ต่อมาในปี ค.ศ. 1959 นักกฎหมายชาวอเมริกันชื่อ Chester Carlson ได้คิดค้นและพัฒนาระบบเครื่องถ่ายเอกสารจนสำเร็จ สามารถถ่ายเอกสารได้ครั้งละหลาย ๆ แผ่น โดยนำระบบ Copyflo มาใช้งาน ซึ่งใช้งานง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ในปัจจุบันเครื่องถ่ายเอกสารชนิดเติมน้ำยานี้ไม่ได้รับความนิยม และไม่มีการผลิตจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว 
ปัจจุบันเครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้ในสำนักงานโดยทั่วไป เป็นเครื่องถ่ายเอกสารระบบอัตโนมัติ (Electrostatic Copying Machine) เป็นชนิดใช้ผงหมึก (Toner) ชนิดเดียวเท่านั้น สำเนาภาพที่ได้จากเครื่องถ่ายเอกสารด้วยผงหมึกนี้ภาพจะคมชัดและแห้งสนิท ต้นทุนการผลิตชิ้นงานค่อนข้างต่ำแต่ประสิทธิภาพในการใช้งานสูง สามารถถ่ายเอกสารได้เป็นจำนวนมาก โดยใช้มือหรือจะใช้ถาดป้อนกระดาษก็ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และยังสามารถแทรกงานด่วนในขณะถ่ายเอกสารอื่นอยู่ได้ มีทั้งระบบย่อ ขยายและซูมภาพได้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องถ่ายเอกสารที่กลับหน้าเองอัตโนมัติ ซึ่งเป็นวิวัฒนาการใหม่ของเครื่องถ่ายเอกสาร โดยใช้กับระบบกระดาษธรรมดาแต่ใช้ผงหมึกแบบแมกนิไฟน์โฟรเซส ที่ให้ความละเอียดแก่สำเนาที่ถ่ายเอกสารมากกว่า คุณสมบัติต่างๆ ของเครื่องถ่ายเอกสารนั้น บริษัทผู้ผลิตได้มีการพัฒนาระบบการทำงานของเครื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวนี้ เป็นคุณสมบัติที่ไม่ตายตัว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริษัทแต่ละแห่งที่จะพัฒนาระบบและคิดค้นขึ้นมาแข่งขันกัน 

เครื่องถ่ายเอกสารจะมีส่วนประกอบและหน้าที่ภายในดังนี้


1. Photocopier drum ดรัมคือกระบอกโลหะที่เคลือบสารที่นำไฟฟ้าได้เมื่อถูกแสงตกกระทบแต่ไม่นำไฟฟ้าในที่มืด สารนี้เป็นสารกึ่งตัวนำหรือ semiconductor เช่น selenium, germanium เป็นต้น 
2. Corona wires หรือ ลวดโคโรนา จะทำงานภายใต้ความต่างศักย์สูง ( high electrical voltage ) ทำหน้าที่สร้างประจุไฟฟ้าบวกบนดรัมและแผ่นกระดาษสำเนา 
3. Lamp และ lens หรือหลอดไฟและเลนส์ เป็นหลอด fluorescent หรือ halogen ที่มีความสว่างมาก หลอดนี้จะวิ่งผ่านตัวเอกสารและสะท้อนแสงไปที่กระจกและเลนส์แล้วตกกระทบบนดรัมอีกทีหนึ่ง 
4. Toner หรือสารที่ให้สี เช่นสีดำที่เห็นกันทั่วๆไป 
5. Fuser มีหน้าที่ให้ความร้อนผ่านลูกกลิ้ง ( roller) เพื่อละลาย toner ให้ติดกับกระดาษ 

Drum : ดรัม ถือเป็นหัวใจของระบบเลยทีเดียว เคลือบด้วยชั้นของสารที่นำแสง ( photoconductive material ) เช่น เซเลเนียม เจอร์มาเนียม หรือ ซิลิคอน สารเหล่านี้อย่างเช่น เซเลเนียมมีคุณสมบัติพิเศษหรือแปลกๆคือ สามารถนำไฟฟ้าได้ภายใต้สภาวะการณ์หนึ่งแต่จะไม่นำไฟฟ้าภายในอีกสภาวะการณ์หนึ่ง ในความมืดมันจะกลายเป็นฉนวน ( insulator) จะต้านทานการไหลของอิเลคตรอนจากอะตอมหนึ่งไปอีกอะตอมหนึ่งหรืออะตอมอื่นๆ แต่เมื่อมีแสงมาตกกระทบบนสารนี้ที่เคลือบอยู่บนดรัม มันจะช่วยปลดปล่อยอิเลคตรอนและทำให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้าได้ อิเลคตรอนที่มีประจุลบนี้จะเป็นตัวที่ทำให้ประจุไฟฟ้าบวกที่อยู่บนผิวหน้าของดรัมสลายตัวกลายเป็นกลางทางไฟฟ้า 

Corona Wires : เพื่อจะให้เครื่องถ่ายเอกสารทำงานได้ จะต้องมีการสร้างสนามไฟฟ้าของประจุบวก ( positive charges) บนผิวของดรัมและกระดาษสำเนา งานนี้จึงเป็นหน้าที่ของเส้นลวดโคโรนาซึ่งทำงานภายใต้ความต่างศักย์สูง ( high voltage) ประจุที่เกิดขึ้นจะถูกส่งต่อไปยังดรัมและกระดาษสำเนาเพื่อสร้างประจุไฟฟ้าสถิต ( static electricity ) ลวดโคโรนาจะทำการเคลือบผิวของดรัมและกระดาษสำเนาด้วยไอออนบวก ( positively charged ions) ลวดเส้นหนึ่งจะถูกดึงให้ขนานกับความยาวของผิวหน้าดรัมและก่อให้เกิดไอออนบวกบนผิวของดรัม ในขณะที่ลวดอีกเส้นหนึ่งจะพาดผ่านกระดาษสำเนาและทำให้ผิวหน้ากระดาษเกิดสภาพเดียวกันในขณะที่กระดาษกำลังเคลื่อนที่เข้าหาดรัม 

Lamp and lenses : การถ่ายเอกสารต้องการแหล่งกำเนิดแสงที่มีพลังงานมากพอเพื่อที่จะเร่งอิเลคตรอนให้หลุดออกจากอะตอมของสารกึ่งตัวนำที่อยู่บนผิวหน้าของดรัม ความถี่แสงที่มีพลังงานมากพอจะอยู่ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นได้ ( visible spectrum ) มีพลังงานมาพอที่จะทำให้เกิกระบวนการนี้ได้ โดยเฉพาะในช่วงสเปกตรัมแสงสีเขียวและน้ำเงิน คลื่นแสงที่อยู่ต่ำกว่าแสงสีแดงจะมีพลังงานไม่มากพอเพราะจะมีความคลื่นมากขึ้นๆและความถี่จะค่อยๆลดลง ( พลังงานของแสงขึ้นกับความถี่แสง) ถึงแม้แสง UV หรือ ultraviolet จะมีพลังงานมากเกินพอที่จะใช้ได้แต่จะมีอันตรายมากกับดวงตาและผิวหนัง นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเครื่องถ่ายเอกสารทั่วไปจึงใช้หลอดไฟธรรมดาๆ เช่นหลอด incandescent , fluorescent หรือ ไฟแฟลช ( flash light ) ซึ่งก็ยังสว่างมากเพื่อส่องไปที่ตัวเอกสารที่จะใช้ถ่าย ส่วนของเลนส์จะทำหน้าที่ย่อและขยายขนาดของสำเนาที่ได้ออกมา โดยทำการปรับระยะใกล้และไกลระหว่างเลนส์และตัวเอกสารต้นฉบับ ภาพจึงมีขนาดเล็กและใหญ่ได้ 

Toner : ทั่วไปอาจจะเข้าใจได้ว่า Toner เป็นหมึกแห้ง แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย หมึกนั้นเป็นสารสีที่อยู่ในรูปของเหลว ( pigmented liquid ) Toner จะเป็นอนุภาคที่ละเอียดยิบของพลาสติกหรือพูดง่ายๆว่าเป็นผงพลาสติกที่ละเอียดมากๆ และเพิ่มสารที่ให้สีดำซึ่งโดยทั่วไปก็คือคาร์บอนเข้าไปผสมกับผงพลาสติกขนาดเล็กจิ๋วนี้ สารนี้จะติดกับลูกกลมๆเล็กๆคล้ายลูกปัด ( bead ) คล้ายกับลูกปิงปองที่มีผงละเอียดๆของ toner สีดำติดอยู่โดยรอบ ทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในกล่องเก็บ ( toner catridge ) เมื่อลูกกลมๆเล็กๆจำนวนมากที่เป็นประจุบวกที่มี toner ประจุลบติดอยู่กลิ้งไปบนดรัม มันจะไปถูกดูดให้ไปติดกับบริเวณที่มีประจุบวกบนดรัมที่ไม่ถูกแสงตกกระทบเพราะแสงถูกส่วนสีดำของเอกสารดูดกลืนไว้ ประจุบวกบนดรัมจะแรงกว่าประจุบวกบนลูกกลมๆที่ toner ติดอยู่ มันจึงดึง toner สีดำให้หลุดออกและไปติดอยู่บนดรัมได้ และสุดท้ายประจุบวกบนกระดาษสำเนาที่สร้างโดยลวดโคโรนาก็จะดึง toner จากดรัมให้ไปติดบนแผ่นกรดาษอีกที อนุภาคพลาสติกที่ผสมอยู่ใน toner จะเป็นตัวที่ทำให้สีสามารถติดแน่นบนกระดาษ ไม่หลุดออกไป 

Fuser : กระบวนการที่ทำให้ toner ละลายติดแน่นบนกระดาษสำเนาจะเป็นหน้าที่ของ fuser หรือตัวหลอม วิธีการคือให้กระดาษที่มี toner ติดอยู่ วิ่งผ่านลูกกลิ้งสองตัวในลักษณะถูกรีดผ่านโดยมีแรงกดทับ แต่มีหลอดให้ความร้อนในแกนของลูกกลิ้งเพื่อสร้างความร้อนให้กับลูกกลิ้งเพื่อละลาย toner ที่มีผลพลาสติกผสมอยู่ toner ก็จะละลายติดแน่นบนกระดาษ เสร็จสิ้นกระบวนการถ่ายเอกสาร

สุดท้ายก่อนทำความสะอาดเครื่องถ่ายเอกสาร ให้ปิดเครื่องและถอดปลั๊กออกก่อนเพื่อความปลอดภัยจากไฟช็อต การทำความสะอาดเส้นลวดโรนาก็อาจใช้ก้าน cotton bud พันใยผ้านุ่มๆชุบน้ำหรือ peroxide พอหมาดๆ ลูบเบาๆทำความสะอาด

ต้นกำเนิดของเครื่องซีร็อกซ์


ต้นคิดเครื่องถ่ายเอกสาร มีชื่อว่านาย เชสเตอร์ คาร์ลสัน ทนายความของบริษัทแห่งหนึ่งในนครนิวยอร์ก ตอนนั้นปี พ.ศ. 2479 (ตึกเวิลด์เทรดยังไม่แจ้งเกิดในนิวยอร์กซะด้วยซ้ำ) นายเชสเตอร์ ต้องตรวจเอกสารในบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งหนึ่ง และรู้สึกว่าสำเนาเอกสารของสิ่งประดิษฐ์ในสิทธิบัตรนั้นมีไม่พอใช้งาน จะให้ไปพิมพ์ใหม่ก็ได้อยู่หรอก แต่เสียเวลามาก ที่ต้องพิมพ์และตรวจทานกันใหม่ หากจะไปใช้วิธีถ่ายภาพจากเอกสารยิ่งแพงไปกันใหญ่ นายคาร์ลสัน ซึ่งเป็นทนายความและนักประดิษฐ์สมัครเล่น จึงคิดหาทางทำเครื่องที่ถ่ายสำเนาเอกสารให้รวดเร็ว
ว่าแล้วจึงไปหาข้อมูลที่ห้องสมุดประชาชนนิวยอร์กทุกวัน เน้นการศึกษาผลงานนักวิทยาศาสตร์ ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแสงกับไฟฟ้าสถิต อ่านไปอ่านมา ในที่สุดคาร์ลสันก็ไปเจอผลงานการค้นคว้าของนายพอล เซเลนยี นักฟิสิกส์ ชาวฮังการี ซึ่งพบว่า แสงจะเพิ่มสภาพการนำกระแสไฟฟ้าสถิตของวัตถุนั้นได้คาร์ลสันจึงเริ่มค้นหาว่าวิธีนำความรู้นี้มาใช้ในกระบวนการสร้างภาพด้วยไฟฟ้าสถิต เริ่มด้วยการเช่าห้องทดลองในย่านแอสโตเรีย ของนิวยอร์ก และหาผู้ช่วยนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ชื่อ ออตโต คอร์นี มาทดลองกระบวนการสร้างภาพในห้องทดลองแห่งนี้ ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2481 คอร์นีเขียนคำว่า "10-22-38 แอสโตเรีย" ลงบนแผ่นกระจกสำหรับกล้องจุลทรรศน์ จากนั้นก็เคลือบแผ่นสังกะสีด้วยผงกำมะถัน แล้วถูแรงๆ ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสถิต จากนั้นก็ประกบแผ่นกระจกเข้ากับแผ่นสังกะสีเคลือบกำมะถัน และนำแผ่นทั้งสองไปวางใต้หลอดไฟฟ้าแบบขดลวดที่สว่างจ้า แล้วเผ่าผงที่เคลือบไว้ให้หลุดออกมาบางส่วน เหลืออยู่แต่คำว่า "10-22-38 แอสโตเรีย" เหมือนต้นฉบับแทบจะไม่ผิดเพี้ยน เป็นอันว่าเครื่องถ่ายเอกสารที่นายคาร์ลสันหมายมั่นไว้ก็ใกล้เป็นจริง แต่ในปี พ.ศ. 2482 บริษัทกว่า 20 แห่ง ไม่ยอมซื้อสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ของนายคาร์ลสัน แม้ว่าต่อมาคาร์ลสันจะได้รับความช่วยเหลือให้พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพิ่มเติม แต่ก็กินเวลาอีกหลายปีกว่าเครื่องถ่ายเอกสารเครื่องแรกจะปรากฏโฉมในปี พ.ศ. 2502 เครื่องถ่ายเอกสารเครื่องแรกก็เปิดตัว ในชื่อว่าเครื่องถ่ายรุ่น 914 โดยใช้ระบบที่เรียกว่า xerography ( ซีโรกราฟฟี ) มาจากภาษากรีก แปลว่า "แห้ง" และ "เขียน" เพียงแค่กดปุ่ม ก็ถ่ายสำเนาลงบนกระดาษขาวได้อย่างง่ายดาย นวัตกรรมนี้ประสบความสำเร็จท่วมท้น นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เครื่องถ่ายเอกสารซีร็อกซ์ ก็กระจายไปทั่วโลก และอยู่ในสถานที่ทำงานเกือบทุกแห่ง

ประวัติเครื่องถ่ายเอกสาร


เชสเตอร์ คาร์ลสัน เป็นนักฟิสิกส์อเมริกัน ประดิษฐ์ขึ้นในนิวยอร์กเมื่อปี ค.ศ.1938 ออกใช้ ปี ค.ศ.1947 และเรียกวิธีการนี้ว่า ซีโรกราฟี xerography มาจากคำภาษากรีกแปลว่า การเขียนแห้ง หลักการทำงานนั้นจะเป็นกระบอกหมุนสำหรับให้กระดาษไขแนบโดยรอบและใช้ระบบแสงฉายข้อความหรือภาพของเอกสารที่ทำสำเนาไปยังกระบอกหมุนโดยผ่านกระจกและเลนส์ ระบบแสงนี้ทำให้สามารถย่อหรือขยายขนาดของสำเนาเอกสารได้ กระบอกนี้จะอัดด้วยไฟฟ้าสถิตและเคลือบชั้นบางๆด้วยสาร เซเลเนียม ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้า เมื่อส่วนที่เป็นสีขาวหรือที่ว่างของต้นฉบับถูกแสง ก็จะสะท้อนแสงไปที่กระบอก ทำให้ประจุไฟฟ้าบนกระบอกถูกลบออก แต่สีดำของต้นฉบับไม่สะท้อนแสง ประจุไฟฟ้าจึงยังคงอยู่ ส่วนที่มีประจุไฟฟ้าจะดึงผงสีดำเรียกว่าสารเปลี่ยนสี toner ซึ่งประกอบเป็นรูปตามต้นฉบับลงบนกระดาษอัดสำเนา
ในเครื่องถ่ายเอกสารแบบสี ต้นฉบับจะถูกสแกน 3 ครั้งและส่งไปยังกระบอกโดยผ่านแผ่นกรองแสง 3 สี ซึ่งแยกออกเป็นแม่สีของแสง 3 สี ได้แก่ แดง ฟ้าและเขียว แล้วสร้างใหม่โดยใช้สารเปลี่ยนสีทุติยภูมิ คือ ม่วงแดง น้ำเงินเขียว และเหลืองรวมทั้งสีดำ ให้ปรากฏเป็นสีตามต้นฉบับสำเนา
การถ่ายเอกสารสีก็เหมือนการพิมพ์ภาพสีคือ ภาพจะพิมพ์ทับกัน 4 ชั้น ชั้นแรกเป็นส่วนสีเหลือง ต่อมาสีม่วงแดง ตามด้วยสีน้ำเงินเขียวและท้ายสุดคือสีดำ
ก่อนหน้าทศวรรษที่ 1940 การทำสำเนาเอกสารหรือภาพเป็นงานที่หนัก เสียเวลาและเลอะเทอะเปรอะเปื้อน ต้องมีการปรุกระดาษไขหรือภาพถ่ายต้นฉบับก่อนเข้าเครื่องอัดสำเนาแบบเก่าที่ใช้หมึก
เครื่องถ่ายเอกสารสมัยใหม่เป็นแบบใช้ไฟฟ้าสถิต สามารถถ่ายสำเนาขาวดำ 135 แผ่นต่อนาทีและทำสำเนาที่ขยายใหญ่ ย่อขนาด ปรับเข้มขึ้นหรือจางลงกว่าต้นฉบับ เมื่อกดปุ่มที่ควบคุมโดยไมโครโปรเซสเซอร์ซึ่งขอบอกว่าใครได้เห็นภายในเครื่องถ่ายเอกสารโดยเฉพาะระบบไฟฟ้าแล้วจะคิดไม่ถึงว่าอะไรจะซับซ้อนได้ขนาดนี้ แผงวงจรรวมไม่รู้กี่แผง สายไฟต่อระหว่างแผงวงจรเป็นมัดๆ ดูสับสนยุ่งเหยิงไปหมด เป็นอุปกรณ์ไฮเทคมากๆ
แสงฟลูออเรสเซนซ์หรือแสงฮาโลเจนที่ส่งไปยังต้นฉบับซึ่งสแกนตรวจโดยกระจกที่เลื่อนไปมาข้างใต้ต้นฉบับจะฉายภาพไปยังกระบอกหมุนซึ่งอัดไฟฟ้าสถิต กระบอกหรือดรัม ( Drum) เคลือบด้วยวัสดุที่นำไฟฟ้าด้วยแสงคือนำไฟฟ้าเมื่อแสงส่องไปถูก กระบอกจะอัดไฟฟ้าสถิตในที่มืดขณะที่หมุนผ่านสารเพิ่มความไวแสงที่ความต่างศักย์สูง
เมื่อแสงส่องไปยังต้นฉบับส่วนที่เป็นสีดำของภาพจะติดอยู่บนกระบอก ส่วนที่เป็นสีขาวบนต้นฉบับจะสะท้อนแสงไปบนกระบอกและสลายประจุบนกระบอกออกไป เหลือประจุบวกเป็นตัวอักษร เช่น ก ข a b c d ลองนึกดูว่าบนตัวอักษรเหล่านี้เป็นเส้นที่มีประจุบวกอยู่ รวมไปถึงรูปภาพ หน้าคน ต้นไม้ ภูเขา ก็ประกอบด้วยประจุบวกเต็มไปหมด
สารเปลี่ยนสีหรือ Toner ที่ถูกถ่ายไปยังกระบอกหรือ Drum จะถูกดูดไปยังส่วนที่มีประจุไฟฟ้าบวกซึ่งตรงกับส่วนที่เป็นสีดำ กระดาษสำเนาที่มีประจุไฟฟ้าจะดึงดูดสารเปลี่ยนสีซึ่งจะหลอมเข้าด้วยกันโดยลูกกลิ้ง
เครื่องถ่ายเอกสารสีชนิดใช้แสงเลเซอร์สามารถสร้างสีที่เหมือนจริงยิ่งขึ้น ภาพต้นฉบับที่ถูกสแกน 3 ครั้งจะถูกส่งไปยังแผ่นเซลล์ไวภาพ ( Photosensitive cells ) ถ้าเป็นกล้องดิจิตอลสมัยใหม่น่าจะตรงกับส่วนที่เป็นอุปกรณ์ตรวจจับแสงที่เป็นชิปเซนเซอร์ที่เรียกว่า ccd หรือ charged coupled device แบบหนึ่งหรือเซนเซอร์รับแสงอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า cmos หรือ complimentary metal-oxide semiconductor ที่มีมานานแล้ว อุปกรณ์นี้จะถ่ายเทประจุซึ่งจะแปรเป็นสัญญาณ digital แล้วป้อนสัญญาณเข้าเครื่องเลเซอร์ซึ่งจะส่งออกมาเป็นสัญญาณแสงเพื่อสร้างภาพทีละเส้นบน Drum ที่อัดไฟฟ้าสถิตและมีสภาพนำไฟฟ้าด้วยแสง ( Photoconductive )

ขอขอบคุณ ข้อมูลดีๆ จาก http://physics.science.cmu.ac.th/Scripts/webboard/00538.html